ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ การจัดการความรู้ทางการศึกษา

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2558

งานพื้นฐานใน Excel 2013

                Excel เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการดึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลจำนวนมากออกมา แต่ยังทำงานได้ดีสำหรับการคำนวณอย่างง่ายและการติดตามข้อมูลเกือบทุกชนิดด้วยเช่นกัน กุญแจสำคัญของความสามารถทั้งหมดนั้น คือ ตารางของเซลล์ เซลล์อาจมีข้อมูลตัวเลข ข้อความ หรือสูตร คุณใส่ข้อมูลในเซลล์ จากนั้นจัดกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้คุณสามารถเพิ่มข้อมูล เรียงลำดับและกรองข้อมูลนั้น ใส่ข้อมูลลงในตาราง และสร้างแผนภูมิที่สวยงามได้ ลองมาดูขั้นตอนพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นใช้งานได้

สร้างเวิร์กบุ๊กใหม่
           เอกสาร Excel เรียกว่าเวิร์กบุ๊ก แต่ละเวิร์กบุ๊กจะมีเวิร์กชีต ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่าสเปรดชีต คุณสามารถเพิ่มเวิร์กชีตลงในเวิร์กบุ๊กได้มากเท่าที่คุณต้องการ หรือคุณสามารถสร้างเวิร์กบุ๊กใหม่เพื่อเก็บข้อมูลของคุณแยกต่างหากก็ได้
        1. คลิก ไฟล์ > ใหม่
        2.ภายใต้ ใหม่ ให้คลิกที่ เวิร์กบุ๊กเปล่า


ใส่ข้อมูลของคุณ
        1. คลิกตรงเซลล์ที่ว่าง ตัวอย่างเช่น เซลล์ A1 บนเวิร์กชีตใหม่ เซลล์ถูกอ้างอิงโดยตำแหน่งที่ตั้งของเซลล์ในแถวและคอลัมน์บนเวิร์กชีต ดังนั้นเซลล์ A1 จะอยู่ในแถวแรกของคอลัมน์ A
        2. พิมพ์ข้อความหรือตัวเลขลงในเซลล์
        3. กด Enter หรือ Tab เพื่อย้ายไปยังเซลล์ถัดไป

ใช้ ผลรวมอัตโนมัติ เพื่อรวมข้อมูล
        เมื่อคุณได้ใส่ตัวเลขในเวิร์กชีตของคุณ คุณอาจต้องการบวกตัวเลขเหล่านั้น วิธีที่รวดเร็วในการทำคือใช้ ผลรวมอัตโนมัติ
         1. เลือกเซลล์ที่อยู่ทางด้านขวาหรือด้านล่างของตัวเลขที่คุณต้องการรวม
         2. คลิก หน้าแรก > ผลรวมอัตโนมัติ หรือกดแป้น Alt+=


              ผลรวมอัตโนมัติจะบวกตัวเลขต่างๆ และแสดงผลลัพธ์ในเซลล์ที่คุณเลือกไว้

สร้างสูตรอย่างง่าย
           การบวกตัวเลขเป็นเพียงหนึ่งในสิ่งที่คุณสามารถทำได้ แต่ Excel ยังสามารถทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ได้ด้วย ลองใช้สูตรง่ายๆ บางสูตรเพื่อบวก ลบ คูณหรือหารตัวเลขของคุณ
          1. เลือกเซลล์และพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ (=) ซึ่งจะบอกให้ Excel ทราบว่าเซลล์นี้จะมีสูตรอยู่
          2. พิมพ์ตัวเลขและตัวดำเนินการการคำนวณรวมกัน เช่น เครื่องหมายบวก (+) สำหรับการบวก เครื่องหมายลบ (-) สำหรับการลบ เครื่องหมายดอกจัน (*) สำหรับการคูณ หรือเครื่องหมายทับ (/) สำหรับการหาร  

 ตัวอย่างเช่น ใส่ =2+4, =4-2, =2*4 หรือ =4/2
          1. กด Enter เพื่อทำการคำนวณ  นอกจากนี้ คุณยังสามารถกด Ctrl+Enter หากคุณต้องการให้เคอร์เซอร์อยู่บนเซลล์ที่ใช้งานอยู่

นำรูปแบบตัวเลขไปใช้
          เมื่อต้องการแยกความแตกต่างระหว่างชนิดตัวเลขที่แตกต่างกัน ให้เพิ่มรูปแบบ เช่น สกุลเงิน เปอร์เซ็นต์ หรือวันที่
          1. เลือกเซลล์ที่คุณมีตัวเลขที่ต้องการจัดรูปแบบ
          2. คลิก หน้าแรก > ลูกศรถัดจาก ทั่วไป


เลือกรูปแบบตัวเลข


                   ถ้าไม่มีรูปแบบตัวเลขที่ต้องการใช้ ให้คลิกที่ รูปแบบตัวเลขเพิ่มเติม

ใส่ข้อมูลของคุณลงในตาราง
            วิธีที่ง่ายในการใช้ความสามารถซึ่งมีอย่างมากมายของ Excel คือการวางข้อมูลของคุณลงในตาราง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกรอง หรือเรียงลำดับข้อมูลของคุณเพื่อนำไปใช้ต่อไป
           1. เลือกข้อมูลของคุณโดยคลิกที่เซลล์แรก แล้วลากไปยังเซลล์สุดท้ายในข้อมูลของคุณ ถ้าจะใช้คีย์บอร์ด ให้กด SHIFT ค้างไว้ขณะที่คุณกดแป้นลูกศรเพื่อเลือกข้อมูลของคุณ
            2. คลิกที่ปุ่ม การวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว ที่มุมขวาล่างของสิ่งที่เลือก


               1. คลิก ตาราง แล้วย้ายเคอร์เซอร์ของคุณไปที่ ปุ่ม ตาราง เพื่อให้คุณสามารถเห็นลักษณะที่ปรากฏของข้อมูลของคุณได้ ถ้าคุณชอบสิ่งที่คุณเห็น ให้คลิกที่ปุ่มดังกล่าว
บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2558

การสร้างงานนำเสนอ ใน PowerPoint 2013

         เมื่อเปิดโปรแกรม Microsoft  PowerPoint 2013 ขึ้นมาใช้งาน สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ การสร้างไฟล์งานนำเสนอใหม่ขึ้นมาใช้งาน ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังขั้นตอนต่อไปนี้

การสร้างงานนำเสนอว่าง
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก งานนำเสนอเปล่า (Blank Presentation)
3. คลิกเลือก สร้าง (Create)


การสร้างพรีเซนเทชันจาก Template ของโปรแกรม
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก ตัวอย่างแม่แบบ (Sample Template)



3. เลือกรูปแบบ Template ที่ต้องการ
4. คลิกเลือก สร้าง (Create)




5. ไฟล์งานนำเสนอใหม่ก็จะถูกสร้างขึ้นมาตามรูปแบบที่เราได้เลือก

การสร้างพรีเซนเทชันจาก Theme ของโปรแกรม
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก ชุดรูปแบบ (Theme)


3. เลือกรูปแบบ Theme ที่เราต้องการ
4. คลิกเลือก สร้าง (Create)


5. ไฟล์งานนำเสนอใหม่ก็จะถูกสร้างขึ้นมาตามรูปแบบ Theme ที่เราเลือก

การบันทึกงานนำเสนอใน PowerPoint 2010
              การบันทึกงานนำเสนอใน PowerPoint 2010 หลังจากที่ได้สร้างงานนำเสนอขึ้นมาแล้ว ถ้าต้องการบันทึกงานนำเสนอนั้นเก็บไว้ ก็สามารถทำได้หลายลักษณะ ดังนี้

วิธีการบันทึกงานนำเสนอใหม่
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > บันทึก (Save)


2. เลือกสถานที่จัดเก็บไฟล์
3. กำหนดชื่อไฟล์งานนำเสนอที่จะบันทึก
4. คลิกปุ่ม บันทึก (Save)



การแทรกรูปภาพลงไปในตัวอักษร PowerPoint 2013
              การแทรกภาพลงไปในตัวอักษร นอกจากจะทำให้ดูโดดเด่นแล้ว ยังทำให้ชิ้นงานนำเสนอนั้นดูเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีการแทรกรูปภาพลงไปในตัวอักษร
1. คลิกเลือกตัวอักษรที่ต้องการ
2. คลิกที่แท็บ รูปแบบ (Format)


3. คลิกเลือก สีเติมข้อความ (Text Fill) > รูปแบบ (Picture)

4. เลือกสถานที่จัดเก็บรูปภาพ
5. เลือกรูปภาพที่ต้องการ
6. คลิกปุ่ม แทรก (Insert)
บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2558

              โปรแกรม Microsoft Office Word 2013 เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้กันมากอยู่ ในปัจจุบันนี้ เพราะมีคุณลักษณะที่ดี เช่น การจัดรูปแบบสะดวกรวดเร็ว ฯลฯ และมีประโยชน์ต่อการจัดเก็บเอกสารและการปรับแก้ไข พื้นฐานการใช้โปรแกรมตั้งแต่การ เปิด ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น แท็บเมนู แท็บเครื่องมือ มุมมอง ฯลฯ และการจัดการไฟล์เอกสาร เช่น การเปิด การปิด การบันทึก และการออกจากโปรแกรม ฯลฯ อีกทั้งยังรองรับภาษาไทยได้ด้วย

ประโยชน์ของโปรแกรม Microsoft Office Word 2013

             1. การจัดเก็บเอกสาร การจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์ขึ้นด้วยกระดาษนั้น อาจจะสูญหายหรือฉีกขาดได้ง่าย แต่ การจัดเก็บเอกสารในรูปของไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลต่าง ๆ จะอยู่ครบถ้วนตราบเท่าที่สื่อ ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น ดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี ฯลฯ อยู่ในสภาพที่ดีและสมบูรณ์
            2. การจัดรูปแบบเอกสาร โปรแกรมประมวลผลคำมีความสามารถในการจัดทำรูปแบบเอกสารได้อย่างดีและ มีประสิทธิภาพ เช่น การกั้นระยะหน้าและหลัง การใส่ข้อความหัวกระดาษและท้ายกระดาษ การจัด เอกสารหลายคอลัมน์ การจัดรูปแบบอัตโนมัติ ฯลฯ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการทำงานเหนือกว่า การทำงานแบบเอกสารธรรมดา

ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Office Word 2013
          1. แท็บชื่อแฟ้มและโปรแกรม (Title bar) เป็นส่วนที่แสดงชื่อของโปรแกรม และชื่อไฟล์เอกสารที่เราเรียกใช้

          2. แท็บ เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งเป็นรายการรายละเอียดที่ต้องเปิดเรียกใช้
          3. แท็บเครื่องมือด่วน (Toolbar) เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งของเวิร์ดที่ใช้บ่อย ๆ โดยแสดงในรูปของปุ่ม รูปภาพ หรือไอคอน โดยปกติจะมีแท็บเครื่องมือมาตรฐาน จัดรูปแบบ และรูปวาด ขึ้นมาให้ก่อน
          4. ไม้บรรทัด (Ruler) เป็นส่วนที่แสดงมาตราส่วนเช่นเดียวกับไม้บรรทัดทั่วไป เพื่อบอกระยะ ของข้อความในเอกสาร มีทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ใช้ได้ทั้งเป็นนิ้วและเซนติเมตร
          5. ตำแหน่งพิมพ์ เป็นเครื่องหมายที่บอกตำแหน่งการพิมพ์งาน (Cursor)
          6. แท็บสถานะ (Status bar) เป็นส่วนที่แสดงการใช้งานเอกสารขณะนั้น ในบางภาวะการทำงาน ส่วนนี้จะแสดงคำอธิบายการทำงานให้ทราบด้วย
         7. เลือกวิธีเรียกดู เป็นเครื่องมือหรือปุ่มที่ใช้ในการเรียกดูเอกสารตามที่ต่าง ๆ ที่จะเลือก
         8. มุมมองต่าง ๆ เราสามารถใช้แท็บมุมมอง และกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ บน Ribbon หรือใช้แถบ สถานะ

การใช้แท็บมุมมอง (Views)

เมื่อเปิดโปรแกรม Microsoft Word ขึ้นมาพิมพ์งานเอกสาร เราสามารถปรับ มุมมองหน้ากระดาษในแบบต่าง ๆ ได้ โดยคลิกแท็บมุมมอง แล้วเลือกปุ่มคำสั่งมุมมองเอกสาร
          1. มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์ ในแท็บมุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์ เป็นมุมมองที่แสดงเหมือนเอกสาร จริงที่จะถูกพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดรูปแบบข้อความ ขอบเขตของหน้ากระดาษ การแบ่งคอลัมน์ โดยจะแสดงให้เห็นไม้บรรทัดขณะพิมพ์งานเอกสารด้วย
          2. มุมมองเค้าโครงเว็บ ในแท็บมุมมองเค้าโครงเว็บ เป็นการแสดงเอกสารในลักษณะของเว็บ เพจ
          3. มุมมองเค้าร่าง ในแท็บมุมมอง เป็นมุมมองที่เลือกได้ว่า จะให้แสดงเฉพาะหัวเรื่องหลัก หัวเรื่องย่อย โดยตัดเนื้อความในหัวเรื่องออก หรือ อาจให้แสดงครบทั้งหมดก็ได้


การจัดการไฟล์เอกสาร

         1. การเปิดไฟล์เอกสารใหม่
             1.1 การสร้างไฟล์ใหม่ก่อนเปิดโปรแกรม จากตำแหน่งที่อยู่ ต่าง ๆ เราสามารถสร้างไฟล์เอกสารใหม่ได้เสมอ โดยคลิกขวา เลื่อนมาที่คำสั่ง New เลือกคำสั่ง เอกสารMicrosoft Office Word จะได้ไฟล์เอกสารใหม่ในชื่อว่า New เอกสารMicrosoft Office Word ให้เราเปลี่ยนชื่อตามต้องการ แล้วจึงดับเบิลคลิกเปิดโปรแกรมและไฟล์เอกสารใหม่นี้
             1.2 การเปิดโปรแกรมและไฟล์เอกสารใหม่ ให้เปิด โปรแกรม Microsoft Word จากเมนู Start\All Programs\Microsoft Office\Microsoft Office Word 2013 หรือคลิกปุ่มไอคอนโปรแกรม Microsoft Word จะเปิดโปรแกรมพร้อมกับไฟล์เอกสารใหม่ ในชื่อ Document1


แทรกรูปภาพใน Microsoft Office Word 2013

            แทรกรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ของคุณ
            1. คลิกตำแหน่งที่คุณต้องการแทรกรูปภาพในเอกสารของคุณ
            2.คลิก แทรก > รูปภาพ


              ในกล่องแทรกรูปภาพ เรียกดูไปยังตำแหน่งของรูปภาพบนคอมพิวเตอร์ของคุณ เลือกรูปภาพ และจากนั้น คลิกแทรกรูปภาพต้นฉบับถูกฝังตัวในเอกสารของคุณ ถ้ารูปภาพของคุณมีขนาดแฟ้มใหญ่ และทำให้เอกสารของคุณมีขนาดใหญ่เกินไป คุณสามารถลดขนาดของเอกสารของคุณ ด้วยการเชื่อมโยงไปยังรูปภาพแทนที่จะฝังนั้น ในกล่องโต้ตอบแทรกรูปภาพคลิกลูกศรอยู่ถัดจากแทรก และจากนั้น คลิกที่การเชื่อมโยงไปยังแฟ้ม

               แทรกรูปภาพจากแหล่งข้อมูลออนไลน์
               1. คลิกตำแหน่งที่คุณต้องการแทรกรูปภาพในเอกสารของคุณ
                2.คลิก แทรก > รูปภาพออนไลน์


               ในกล่องค้นหารูปภาพ Bing ให้พิมพ์คำหรือวลีที่อธิบายรูปภาพคุณกำลังค้นหา และจากนั้น กด ENTER หรือ ที่ด้านล่างของรูปภาพที่แทรก กล่อง คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อเรียกดูแหล่งข้อมูลรูปออนไลน์ส่วนบุคคลของคุณ เช่น OneDrive และ Facebook ClipArtDeprecation_2013 เปิดเอกสารจากเว็บเพจ คลิกขวาที่รูปภาพที่คุณต้องการ และคลิกคัดลอก หรือการคัดลอกรูป ในเอกสารของคุณ คลิกขวาที่คุณต้องการแทรกรูปภาพ และจากนั้น คลิกตัวเลือกภายใต้ตัวเลือกการวาง

การบันทึกไฟล์ (Save or Save as)

              เมื่อเปิดโปรแกรมและพิมพ์งานเอกสาร หากมีความประสงค์ที่จะบันทึกเก็บไว้ใน ดิสก์ไดรฟ์ สามารถปฏิบัติได้ ดังต่อไปนี้
              1. การบันทึกไฟล์เปิดใหม่ ในการเปิดโปรแกรมพิมพ์งานใหม่ จะใช้ชื่อไฟล์ว่า Document1 เมื่อ ต้องการบันทึกไฟล์ ให้คลิกปุ่ม Office\บันทึก (Save) หรือบันทึกเป็น (Save as) หรือให้คลิกปุ่ม บันทึกที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ที่แถบเครื่องมือด่วนก็ได้ จะเปิดกล่องโต้ตอบบันทึกเป็นขึ้นมาให้ไป ตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการบันทึก แล้วตั้งชื่อไฟล์ในช่องชื่อแฟ้ม จะบันทึกชนิดเป็นเอกสาร Word 2007 (*.docx) หากต้องการเปลี่ยนชนิดของไฟล์ให้คลิกเลือกที่ช่องเก็บเป็นชนิด เปลี่ยนชนิดเป็นเอกสาร ที่ต้องการ เช่น เปลี่ยนชนิดเป็นเอกสาร Word 97-2003 (*.doc) เสร็จแล้วคลิกปุ่มบันทึก
             2. การบันทึกไฟล์เก่า เมื่อเปิดงานเก่าขึ้นมาพิมพ์งาน แล้วต้องการที่จะบันทึกไฟล์ สามารถ ดำเนินการได้ 4 รูปแบบตามความประสงค์ของเรา ดังนี้
                 2.1 การบันทึกไฟล์เก่า ในที่อยู่และ ชื่อเดิม ให้คลิกปุ่ม Office\บันทึก (Save) เลือกคำสั่งบันทึก หรือคลิกปุ่มบันทึกที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ แถบเครื่องมือด่วนก็ได้
                 2.2 การบันทึกไฟล์เก่า ในที่อยู่ใหม่ แต่ ชื่อเดิม ให้คลิกปุ่ม Office\ บันทึกเป็น (Save as) จะเปิดกล่องโต้ตอบบันทึกเป็นขึ้นมาให้ไปตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการบันทึก แล้ว คลิกปุ่มบันทึก
                 2.3 การบันทึกไฟล์เก่า ในที่อยู่เดิม แต่ ชื่อใหม่ ให้คลิกปุ่ม Office\ บันทึกเป็น (Save as) จะเปิดกล่องโต้ตอบบันทึกเป็นขึ้นมา ให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ในช่องชื่อแฟ้ม แล้ว คลิกปุ่มบันทึก
                 2.4 การบันทึกไฟล์เก่า ในที่อยู่ใหม่ แต่ ชื่อใหม่ ให้คลิกปุ่ม Office\ บันทึกเป็น (Save as) จะเปิดกล่องโต้ตอบบันทึกเป็นขึ้นมา ให้ไปตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการบันทึก แล้วเปลี่ยนชื่อไฟล์ในช่องชื่อแฟ้ม เสร็จแล้วคลิกปุ่มบันทึก




ที่มา : นายปวรณัฏฐ์ จันทร์สว่าง,2557,พื้นฐานการใช้โปรแกรม Microsoft Word , จาก http://krurukbie.blogspot.com/2011/10/microsoft-word.html.



บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2558

          สรุปความรู้ที่ได้เกี่ยวกับวีดิโอ


            การจัดการความรู้เป็นระเบียบวิธีอันหนึ่งที่นำมาใช้ในรูปแบบที่หลากหลายภายในองค์กรทางการศึกษา การนำระเบียบวิธีนี้มาใช้จะต้องเข้าใจถึงวิธีการที่จะจัดการกับองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบให้ลงตัว ได้แก่ คน กระบวนการและเทคโนโลยี การจัดการความรู้พยายามจะสร้างให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียน เป็นไปเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การจัดการความรู้จึงเป็นระเบียบวิธีที่เอื้อประโยชน์ให้ทั้งนักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องกับวงการศึกษาโดยส่วนรวม การพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 17 กันยายน 2558

Infographic รู้เท่าสื่อ ICT


วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558


infographic มิติใหม่การศึกษา เดินหน้าประเทศไทย



บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2558

               โมเดลปลาทู (Tuna Model:thai-UNAids Model) คิดขึ้นโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด เป็นแนวทางเบื้องต้นในการจัดการความรู้ และในการทำความเข้าใจ 3 ส่วนหลักของการจัดการความรู้ว่าสัมพันธ์กับบุคคล 3 กลุ่ม ในการดำเนินการจัดการความรู้เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนคือ

1. หัวปลา หมายถึง เป้าหมายหลักของการดำเนินการจัดการความรู้ สะท้อน "วิสัยทัศน์ความรู้ หรือหัวใจของความรู้ เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า "เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร " โดย "หัวปลา" จะต้องเป็น "คุณกิจ" หรือผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด บุคคลที่มีความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดหัวปลาที่ชัดเจน คือ "คุณเอื้อ(ระบบ)"

2. ตัวปลา หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการแบ่งปันความรู้ (KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคคลสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด "ตัวปลา" ที่ทรงพลังคือ "คุณอำนวย" ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ "คุณกิจ" มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ซ่อนเร้นที่อยู่ในตัว "คุณกิจ" พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้และเกิดนวัตกรรม

3. "หางปลา" หมายถึง ขุมความรู้ (KA) ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สกัดขุมความรู้ ออกมาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกไว้ใช้งานต่อ คือ "คุณกิจ" โดยที่การจดบันทึกขุมความรู้ อาจมี "คุณลิขิต" เก็บสะสม "เกร็ดความรู้" ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตัวปลา" ซึ่งอาจเก็บส่วนของ "หางปลา" ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป



อ้างอิง
คัชรินทร์ มหาวงศ์.2550.โมเดลปลาทู.www.gotoknow.org/posts/20449.วันที่ค้นหา 02/09/2558.